คำถาม คำตอบเกี่ยวกับการเพิกถอนใบอนุญาต
บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)
- คำถาม : สาเหตุของการเพิกถอนใบอนุญาตของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)
คำตอบ : เนื่องจากบริษัทมีปัญหาฐานะและการดำเนินงาน มีการฝ่าฝืนกฎหมายหลายประการอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน ดังนี้
- ดำรงเงินกองทุนไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
- ดำรงทรัพย์สินสำหรับเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท เงินสำรอง
ค่าสินไหมทดแทนและเงินสำรองอื่นของบริษัทประกันวินาศภัยตามมาตรา 23 และจัดสรรสินทรัพย์ไว้สำหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย ตามมาตรา 27/4 ไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด - ยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหลายครั้ง มีพฤติกรรมปิดบังซ่อนเร้นฐานะการเงินหรือการดำเนินการ โดยบันทึกรายการหนี้สินจากการประกันภัยต่อ และเงินสำรองค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับรายงานแล้ว ต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้สำนักงาน คปภ. ไม่ทราบฐานะการเงินที่แท้จริงของบริษัท
- ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัทอย่างมีเงื่อนไขเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องอันเป็นสาระสำคัญ เป็นเหตุให้บริษัทมีฐานะการเงินหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน
เพื่อมิให้ปัญหาลุกลามทำให้ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนเดือดร้อนเพิ่มขึ้น นายทะเบียนโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ตามมติที่ประชุม คปภ. ครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2561 จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มีคำสั่งที่ 17/2561 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2561 สั่งให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว และกำหนดเงื่อนไข 4 ข้อ ให้บริษัทดำเนินการ โดยให้ดำเนินการให้แล้วสร็จภายในวันที่ 29 มิถุนายน 2561 ซึ่งในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว สำนักงาน คปภ. ได้ติดตามกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งปรากฏว่าบริษัทยังไม่มีความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาฐานะและการดำเนินงานตามคำสั่งนายทะเบียนอย่างมีนัยสำคัญ โดยสำนักงาน คปภ. ได้ ติดตามและกำชับเป็นลายลักษณ์อักษรให้บริษัทเร่งรัดการดำเนินการเพื่อแก้ไขฐานะและดำเนินการตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 17/2561 มาโดยตลอด
ก่อนครบกำหนดเวลาแก้ไขปัญหาฐานะและการดำเนินการ บริษัทได้ขอขยายเวลาการแก้ไขปัญหาฐานะการเงินและการดำเนินการ โดยให้เหตุผลว่ามีความคืบหน้าในการแก้ไขฐานะการเงินและการดำเนินการ โดยการเพิ่มทุนเป็นเงินสด และมีแผนการดำเนินการที่จะเพิ่มทุนโดยการแปลงหนี้เป็นทุน นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ในการประชุม คปภ. ครั้งที่ 7/2561 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2561 พิจารณาแล้วเห็นว่า บริษัทมีความคืบหน้าในการแก้ไขฐานะและการดำเนินการโดยได้เพิ่มทุนมาแล้วบางส่วนและอยู่ระหว่างแก้ไขฐานะด้วยการแปลงหนี้เป็นทุน จึงมีคำสั่ง ที่ 35/2561 ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2561 ให้ขยายระยะเวลาการแก้ไขปัญหาฐานะการเงินและการดำเนินการออกไปจนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2561 โดยบริษัทยังคงอยู่ภายใต้คำสั่งให้หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวที่กำหนดเงื่อนไข 4 ข้อ ทั้งนี้ หากปรากฏหลักฐานว่าเจ้าหนี้ของบริษัทได้ตกลงหรือยินยอมเข้าร่วมโครงการแปลงหนี้เป็นทุนกับบริษัทตามคำร้องขอขยายระยะเวลา ภายในวันที่ 28 สิงหาคม 2561 ให้ขยายระยะเวลาแก้ไขฐานะและการดำเนินการออกไปจนถึงวันที่ 27 กันยายน 2561 แต่หากเจ้าหนี้ของบริษัทดังกล่าวไม่ตกลงหรือยินยอมเข้าร่วมโครงการแปลงหนี้เป็นทุนกับบริษัทภายในวันที่ 28 สิงหาคม 2561 ให้นายทะเบียนนำเสนอคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัดต่อไป โดยสำนักงาน คปภ. ได้เผยแพร่คำสั่งนายทะเบียนดังกล่าว และได้แจ้งคำสั่งนี้ให้บริษัททราบและเข้าใจเงื่อนไขต่างๆ โดยละเอียดแล้ว และระหว่างช่วงเวลาที่กำหนดตามคำสั่งของนายทะเบียน สำนักงาน คปภ. ได้ติดตามและประเมินผลการแก้ไขปัญหาของบริษัทอย่างใกล้ชิด ทั้งยังให้โอกาสบริษัทชี้แจงและแสดงหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณา แต่จนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2561 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดตามเงื่อนไขในคำสั่งนายทะเบียนที่ 35/2561 บริษัทยังไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดได้ โดยไม่ปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่าเจ้าหนี้ของบริษัทได้ตกลงหรือยินยอมเข้าร่วมโครงการแปลงหนี้เป็นทุนกับบริษัทภายในวันที่ 28 สิงหาคม 2561 อีกทั้งบริษัทยังคงไม่สามารถแก้ไขปัญหาฐานะและการดำเนินการได้ครบถ้วน ได้แก่ ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน จำนวน 267.78 ล้านบาท มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนจำนวนร้อยละ -210.28 จัดสรรเงินสำรองตามมาตรา 23 และจัดสรรสินทรัพย์ไว้สำหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัยตามมาตรา 27/4 ไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด จำนวน 79.44 ล้านบาท และ 157.18 ล้านบาท ตามลำดับ แม้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรองงบการเงิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 แต่รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไขเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องอันเป็นสาระสำคัญ ซึ่งเป็นลักษณะที่เป็นเหตุให้บริษัทมีฐานะการเงินหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน ดังนั้น หากให้บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจต่อไปจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน สำนักงาน คปภ. ด้วยความเห็นชอบของ คปภ. ได้นำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังใช้อำนาจตามความในมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 เสนอให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท โดยต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว เห็นชอบตามที่เสนอ จึงมีคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 1213/2561 ลงวันที่ 7 กันยายน 2561 เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในการนี้ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 60 และมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แต่งตั้งกองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้ชำระบัญชี
- คำถาม : เงื่อนไข 4 ข้อ ตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 17/2561 ในระหว่างการสั่งให้หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวที่สั่งให้บริษัทแก้ไขมีอะไรบ้าง
คำตอบ : เงื่อนไข 4 ข้อ คือ
- ต้องดำรงเงินกองทุนให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
- ต้องยื่นรายงานประมาณการฐานะการเงินและความเพียงพอของเงินกองทุนเป็นรายไตรมาส
เป็นระยะเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ. 2561 - ต้องปรับปรุงการบันทึกรายการบัญชีให้ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริง เพื่อให้งบการเงินของบริษัทมีความน่าเชื่อถือ และผ่านการรับรองจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่แสดงความเป็นแบบไม่มีเงื่อนไข
หรือแบบมีเงื่อนไข ในลักษณะที่ไม่เป็นเหตุให้บริษัทมีฐานะการเงินหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน
- จัดให้มีระบบงานและบุคลากรที่มีคุณภาพ ได้แก่ ระบบบัญชีการเงิน ระบบการรับเงินจ่ายเงิน ระบบการจัดการค่าสินไหมทดแทน ระบบการบริหารความเสี่ยง ระบบควบคุมภายในที่เหมาะสมและเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และให้มีคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงานเป็น
ลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งให้มีการทดสอบระบบงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- คำถาม : สำนักงาน คปภ. ได้เข้าไปตรวจสอบ ควบคุม และป้องกันมิให้เกิดความเสียหายลุกลามอย่างไร
คำตอบ : สำนักงาน คปภ.ได้ติดตามการดำเนินงานของบริษัทมาโดยตลอด และมีข้อสงสัยว่า บริษัทอาจมีการทำธุรกรรมที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งสำนักงาน คปภ.ได้เข้าตรวจสอบและรวบรวมหลักฐานในเชิงลึกจนพบว่า มีการบันทึกบัญชีไม่ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงมีผลให้บริษัทดำรงเงินกองทุน จัดสรรทรัพย์สินไว้ตามมาตรา 23 และมาตรา 27/4 ไม่ครบถ้วน สำนักงาน คปภ.จึงได้นำเสนอต่อที่ประชุม คปภ.เพื่อขอความเห็นชอบให้นายทะเบียนสั่งหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการห้ามมิให้บริษัทขยายการรับประกันวินาศภัย และกระทำการระงับธุรกรรมทั้งหมดโดยสำนักงาน คปภ. ได้เข้าควบคุมธุรกรรมการเงินเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ระหว่างที่บริษัทต้องคำสั่งหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวและ
อยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาตามคำสั่งฯ จะไม่มีการโยกย้ายทรัพย์สิน หรือมีการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยและประชาชน
- คำถาม : การเพิกถอนใบอนุญาตของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) จะกระทบต่อ
ผู้เอาประกันภัยหรือไม่ และสำนักงาน คปภ. มีแนวทางการเยียวยาผลกระทบอย่างไร
คำตอบ : สำนักงาน คปภ. ได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผู้เอาประกันภัยของบริษัทที่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน หรือมีภาระผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัย โดยได้จัดทำโครงการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย และผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย และขอให้บริษัทประกันวินาศภัยที่มีฐานะการเงินมั่นคงที่มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนเกินกว่าร้อยละ 200 เข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีบริษัทที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 26 บริษัท ซึ่งผู้เอาประกันสามารถเลือกบริษัทใดบริษัทหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการได้
- คำถาม : แนวทางการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยและประชาชนมีอย่างไร
คำตอบ : แนวทางการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยและประชาชนมี ดังนี้
- กรณีกรมธรรม์ที่ยังไม่มีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเกิดขึ้น บริษัทที่เข้าร่วมโครงการฯ
จะเข้ารับช่วงและให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยที่เข้ามาติดต่อบริษัท โดยมีเงื่อนไขว่า
ผู้เอาประกันภัยจะต้องทำสัญญาประกันภัยประเภทและชนิดเดียวกันนั้นกับบริษัทต่อไป
โดยผู้เอาประกันภัยจะได้รับการขยายความคุ้มครองเพิ่มเติมตามระยะเวลาที่ยังคงเหลืออยู่จากกรมธรรม์เดิม โดยไม่มีการคิดเบี้ยประกันภัยเพิ่ม แต่ต้องโอนสิทธิที่จะได้รับเบี้ยประกันภัยสำหรับระยะเวลาที่เหลือจากกองทุนประกันวินาศภัย ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) ให้แก่บริษัทที่รับโอนกรมธรรม์ประกันภัยนั้นด้วย - กรณีที่กรมธรรม์มีความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว การเรียกร้องค่าเสียหายนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยผู้ชำระบัญชีของบริษัทที่รัฐมนตรีมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต โดยสำนักงาน คปภ.
ในทุกพื้นที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนเป็นเบื้องต้น
- คำถาม : บริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยและผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย จำนวน 26 บริษัท ประกอบด้วยบริษัทใดบ้าง
คำตอบ : บริษัทประกันภัย จำนวน 26 บริษัท มีรายชื่อดังต่อไปนี้
ที่ |
ชื่อบริษัท |
รายชื่อผู้ให้บริการ |
ช่องทางติดต่อ |
---|---|---|---|
1 |
บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) | คุณสุภาษ เหลืองศิริมีชัย | โทร. 02-285–7911 E-mail : supas.l@bangkokinsurance.com |
|
คุณเกษม เจริญจรัสกุล | โทร. 02-285-8941 E-mail : kasame@bangkokinsurance.com |
|
คุณปริศนา ช่วยจตุรัส | โทร. 02-285-8935 E-mail : pritsana.c@bangkokinsurance.com |
||
2 |
บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด (มหาชน) | คุณอรุณ เพชรรัตน์ | โทร. 02-624-1111 ต่อ 3312
E-mail : arun.p@kpi.co.th |
คุณเบญจมาศ เบญจทวีพล | โทร. 02-624-1111 ต่อ 3312
E-mail : benjamart.b@kpi.co.th |
||
3 |
บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด | คุณจีระศักดิ์ รอบแคว้น | โทร. 02-100-9191 ต่อ 5711 มือถือ 086-600-5106 โทรสาร 02-248-6977 E-mail : Jeerasakr@rvp.co.th |
ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ | โทร. 1791 | ||
4 |
บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) | ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ | 0-2612-9888
E-mail : info@generali.co.th |
|
แผนกบริการลูกค้า | โทร. 02-611-4000
Email: customerservice.th@chubb.com |
|
5 |
บริษัท ชับบ์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) | คุณวีรชัย วงศ์สินธุ์เชาว์ | โทร. 02-611-3860 Email: veerachai.wongsinchao@chubb.com |
คุณวรินทร ปฐมรัตน์ | โทร. 02-611-3862 Email: Varintohn.Pathomrat@chubb.com |
||
6 |
บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) | คุณปิยะ วราอุบล | โทร. 02-651-5995 ต่อ 301 มือถือ 084-664-5551 โทรสาร 02-650-9720 E-mail: Piya.Vara-ubol@Cigna.com |
7 |
บริษัท โตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) | คุณสุรสิทธิ์ ศิริจิระพัฒนา | โทร. 02-686-8888 ต่อ 1327 E-mail : Surasit.Sirijirapatana@tokiomarine.co.th |
8 |
บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) | คุณปราณี มณีสว่างวงศ์ | โทร.02-118-4000 ต่อ 2133 E-mail : pranees@dhipaya.co.th |
9 |
บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) | คุณทิพวรรณ เหลืองสกุลพงษ์ | โทร. 02-080-1599 ต่อ 6163 E-mail: thippawan@deves.co.th |
คุณจิราภรณ์ จันทร์สมปอง | โทร. 02-080-1599 ต่อ 6111 E-mail: chiraporn@deves.co.th |
||
10 |
บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) | คุณวีริยา เหลืองธาดา | โทร. 02-613-0100 ต่อ 601-602 E-mail : veeriya@thaiins.com |
11 |
บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด (มหาชน) | คุณสรชา สวัสดิ์วุฒิพงษ์ | โทร. 02-878-7129 E-mail : sorracha.sa@thaisri.com |
คุณกิตติศักดิ์ ดุลยกาญจน์ | โทร. 02-878-7113 E-mail : kittisak.du@thaisri.com |
||
12 |
บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน)
|
คุณตรีรัตน์ ยศวัฒนะกุล | โทร. 02-308- 9265 E-mail : threerat.yos@thanachart.co.th |
คุณสุลีพร แก้วสีหมอก | โทร. 02-308-9300 ต่อ 2881 E-mail : suleeporn.kaw@thanachart.co.th |
||
13 |
บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) | คุณอัญชลี ชัยวงศ์ขจร | โทร. 02-664-7777 ต่อ 1711
E-mail : anchalee_c@navakij.co.th |
14 |
บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน) | คุณนันทิยา เจริญจิตรตระกูล | โทร. 02-257-8424 |
คุณบุปผารัตน์ จารุเศรษฐการ | โทร. 02-257-8426 | ||
คุณชฎาพร ภัทรวิศิษฏ์สัณธ์ | chadapornp@safety.co.th | ||
15 |
บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) | คุณชุติมณฑน์ นุ่มรัตน์ | โทร. 02-695-0800 ต่อ 2981 Email : Chutimon_num@thaivivat.co.th |
คุณราตรี โพธิ์ศรี | โทร. 02-695-0800 ต่อ 2953 Email : agent07@thaivivat.co.th |
||
16 |
บริษัท พุทธธรรมประกันภัย จำกัด (มหาชน) | คุณอรทัย ขนุนทอง | โทร.02-585-9009 ต่อ 3400 มือถือ 089-488-1876 E-mail : pti.motor@hotmail.com |
คุณสมบูรณ์ แก้วกิตติกาญจนา | โทร.02-585-9009 ต่อ 3300
มือถือ 089-667-6879 E-mail : pti2006@yahoo.com |
||
17 |
บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) | คุณประวิทย์ พิชญ์พิธาน | โทร. 02-676-9888 ต่อ 150 Email: pravitp@falconinsurance.co.th |
18 |
บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ สาขาประเทศไทย | คุณหิรัญญา ชั่งดวงจิตร์ | โทร. 02-679-6165-87 ต่อ 3102 Email: hirunya@ms-ins.co.th |
19 |
บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
|
คุณนริตา บุญสุทธิ์ | โทร. 02-640-7777 ต่อ 7815
Email : narita@mittare.com |
คุณรุ่งทิพย์ ทองศักดิ์ | โทร. 02-640-7777 ต่อ 7812 | ||
คุณชุติมา ศรีพัฒนา | โทร. 02-640-7777 ต่อ 6801 | ||
20 |
บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) | Call center | 1484 |
คุณจักรี วรรณศิลป์ | โทร. 02-665-4000 ต่อ 4760 E-mail: jhakkree.w@muangthaiinsurance.com |
||
21 |
บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) | ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ และเจ้าหน้าที่รับประกันภัยของบริษัทฯ ทุกสาขาทั่วประเทศ | โทรศัพท์ สายด่วน 1557 สอบถามข้อมูลผ่านเว็บไซต์บริษัท www.viriyah.co.th E-mail: info@viriyah.co.th |
22 |
บริษัท ศรีอยุธยา เจนเนอรัล ประกันภัย จำกัด (มหาชน) | คุณทิพวดี คงประเสริฐลาภ | โทร. 02-657-2555 ต่อ 2512 E-mail : thipwadee@sagi.co.th |
23 |
บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) | คุณอมรศักดิ์ ศรีมงคลชัย | โทร. 02-378-7000 ต่อ 7129
E-mail : amornsak_s@smk.co.th |
คุณกัญญาณัฐ ภูบรรทัด | โทร. 02-378-7000 ต่อ 1523
E-mail : kunyanut_phu@smk.co.th |
||
24 |
บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) | ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ | โทร. 1726 E-mail : seiccare@segroup.co.th |
25 |
บริษัท เอซ ไอเอ็นเอ โอเวอร์ซีส์ อินชัวรันซ์ จำกัด สาขาประเทศไทย
|
คุณวีรชัย วงศ์สินธุ์เชาว์ | โทร. 02-6113860 Email: veerachai.wongsinchao@chubb.com |
คุณวรินทร ปฐมรัตน์ | โทร. 02-6113862 Email: Varintohn.Pathomrat@chubb.com |
||
26 |
บริษัท ไอโออิ กรุงเทพ ประกันภัย จำกัด (มหาชน) | คุณสุเทพ ขันธโสภา | โทร. 02-620-8000 ต่อ 8033 โทรสาร 02-677-3979 มือถือ 081-880-4114 E-mail : suthep@aioibkkins.co.th |
คุณเอมอร ศารทูลสูตร | โทรศัพท์ 02 6208000 ต่อ 8706
โทรสาร 02 6773988 E-mail : amon@aioibkkins.co.th |
||
|
รวม |
|
๒๖ |
- คำถาม : เจ้าหนี้ของบริษัทจะขอรับชำระหนี้อย่างไร
คำตอบ : สำหรับผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยของบริษัท ให้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อกองทุนประกันวินาศภัย ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) ภายใน 60 วันนับแต่วันที่กองทุนประกันวินาศภัยกำหนดในประกาศ โดยให้นำเอกสารต้นฉบับพร้อมทั้งสำเนา จำนวน 2 ชุด ประกอบการยื่นขอรับชำระหนี้ ดังนี้ กรมธรรม์ประกันภัย บัตรประจำตัวประชาชน ใบเคลม ใบนัดชำระหนี้ หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงถึงมูลหนี้ หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล)
สำหรับเจ้าหนี้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัย ให้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อกองทุนประกันวินาศภัยในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) ภายใน 60 วันนับแต่วันที่กองทุนประกันวินาศภัยกำหนดในประกาศ พร้อมทั้งนำเอกสารแสดงความเป็นเจ้าหนี้ ต้นฉบับพร้อมทั้งสำเนา จำนวน 1 ชุด ประกอบการยื่นขอรับชำระหนี้ ดังนี้ หลักฐานแสดงถึงมูลหนี้ บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล)
หากเจ้าหนี้ไม่สามารถยื่นได้ด้วยตนเอง จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจโดยติดอากรแสตมป์ 30 บาท
พร้อมกับสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ ยื่นต่อกองทุนประกันวินาศภัย ในฐานะ
ผู้ชำระบัญชีของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)
สถานที่ที่สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ มีดังต่อไปนี้
- ส่วนกลางยื่นได้ 3 แห่ง ดังนี้
- กองทุนประกันวินาศภัย อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 ชั้น 15 เลขที่ 1010 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2791-1444
ต่อ 11-15 และ 21-24 - สำนักงาน คปภ. เขตท่าพระ เลขที่ 287 ซอยรัชดาภิเษก 6 ถนนรัชดาภิเษก-ท่าพระ
แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2476-9940-3 - สำนักงาน คปภ. เขตบางนา เลขที่ 1/16 อาคารบางนาธานี ชั้น 8 ถนนบางนาตราด
กม.3 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2361-3769-70
- ในส่วนของพื้นที่ต่างจังหวัด สามารถยื่นขอรับชำระหนี้ได้ที่ สำนักงาน คปภ. ภาค และสำนักงาน คปภ. จังหวัด ทั่วประเทศ ทั้งนี้ เจ้าหนี้สามารถดาวน์โหลดแบบคำทวงหนี้ได้ที่ www.gif.or.th หัวข้อ “แบบฟอร์ม” ได้อีกด้วย
- คำถาม : เจ้าหนี้ของบริษัทจะได้รับเงินเมื่อใด
คำตอบ : แบ่งเจ้าหนี้เป็น 2 กลุ่ม คือ
- เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัย ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อกองทุนประกันวินาศภัยในฐานะ
ผู้ชำระบัญชีของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่กองทุนประกันวินาศภัยกำหนดในประกาศกองทุนประกันวินาศภัย โดยจะนำหลักทรัพย์ประกันและเงินสำรองประกันภัยของบริษัทที่วางไว้กับนายทะเบียนมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ที่ไม่มีข้อโต้แย้ง
และกองทุนประกันวินาศภัยจะนำเงินของกองทุนประกันวินาศภัยมาจ่ายส่วนที่ขาด (รวมแล้ว
ไม่เกินหนึ่งล้านบาทต่อราย) ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กองทุนกำหนด - เจ้าหนี้อื่น ที่ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัย ให้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อกองทุนประกันวินาศภัยในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่กองทุนประกันวินาศภัยกำหนดในประกาศกองทุนประกันวินาศภัย และหลังจากที่มีการนำทรัพย์สินของบริษัทจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยครบถ้วนแล้ว หากมีทรัพย์สินของบริษัทเหลือจะนำมาให้แก่เจ้าหนี้อื่น และหากไม่เพียงพอเจ้าหนี้อื่นจะต้องยื่นขอรับชำระหนี้ส่วนที่ขาดจากกองทรัพย์สินในคดีล้มละลายอีกครั้งหนึ่ง
- คำถาม : สำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินการเพื่อมิให้บริษัทมีการโยกย้ายเงินและทรัพย์สินของบริษัทอย่างไร
คำตอบ :
– ตั้งแต่นายทะเบียนมีคำสั่งที่ 17/2561 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2561 สั่งให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว จนถึงการเพิกถอนใบอนุญาตการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท สำนักงาน คปภ. ได้มีหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน หน่วยงานของรัฐ เป็นต้น เพื่อแจ้งให้ทราบการมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) และขอระงับการเคลื่อนย้ายทรัพย์สิน และได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าควบคุมการจ่ายเงิน ณ ที่ทำการบริษัท โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ที่บริษัททุกวันทำการ และได้แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาการจ่ายเงินอื่นของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) เพื่อเสนอความเห็นพิจารณาอนุมัติค่าใช้จ่ายต่างๆ ต่อนายทะเบียน ให้เป็นไปตามรอบคอบ
– ภายหลังจากคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 1213/2561 ลว. 7 กันยายน 2561 และคำสั่งแต่งตั้งกองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) สำนักงาน คปภ. ได้มีหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน หน่วยงานของรัฐ เป็นต้น เพื่อแจ้งให้ทราบการมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) และดูแลทรัพย์สินของบริษัท มิให้มีการเคลื่อนย้าย หรือยักย้ายถ่ายเท หรือนำออกไปจากสำนักงาน เว้นแต่เป็นการกระทำของผู้ชำระบัญชี
– สำนักงาน คปภ. มีหนังสือสั่งการไปยังผู้อำนวยการสำนักงาน คปภ. ภาค 1 – 9 ผู้อำนวยการสำนักงาน คปภ. จังหวัด และผู้อำนวยการสำนักงาน คปภ. เขตท่าพระ และเขตบางนา เพื่อแจ้งให้ทราบการมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) และให้บริการช่วยเหลือและเยียวยาผู้เอาประกันภัยและประชาชนอย่างเต็มที่
- คำถาม : การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) จะกระทบต่อความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมประกันภัยไทยหรือไม่ และภาพรวมของธุรกิจประกันวินาศภัยของไทยขณะนี้ เป็นอย่างไร
คำตอบ : กรณีของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้มีการดำเนินการตามลำดับขั้นตอน และมีการสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องที่บริษัทประสบปัญหาและสำนักงาน คปภ. ให้โอกาสแก้ไขและช่วยเหลือ โดยเฉพาะโครงการแปลงหนี้เป็นทุน โดยบริษัทต้องดำเนินการตามเงื่อนไขที่ คปภ. กำหนดไว้ แต่เมื่อตรวจสอบรายละเอียด จึงพบข้อเท็จจริงอื่นที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายปรากฏเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงมีคำสั่งหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว เพื่อจำกัดความเสียหายตามมติ คปภ. นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. ได้ประสานงานกับกองทุนประกันวินาศภัยอย่างใกล้ชิด ซึ่งผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัยคนปัจจุบัน เป็นผู้มีประสบการณ์ที่สามารถบริหารจัดการเกี่ยวกับกระบวนการภายหลังการเพิกถอนใบอนุญาตได้ สำหรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอาจจะมีบ้าง แต่ไม่กระทบต่อความเชื่อมั่นต่ออุตสาหกรรมประกันภัยในภาพรวม เนื่องจากบริษัทมีส่วนแบ่งตลาดเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.06
ทั้งนี้ ปัจจุบันตัวเลขธุรกิจประกันภัยช่วงครึ่งปีแรกของปี 2561 มีเบี้ยประกันภัยรับตรง จำนวน 113,381 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 4.76 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ และความมั่นคง รวมถึงมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
- คำถาม : แนวทางการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยและประชาชนมีอย่างไร (ปรับปรุงจากข้อ 5)
คำตอบ : แนวทางการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยและประชาชนมี ดังนี้
11.1 การทำประกันภัยกับบริษัทที่เข้าร่วมโครงการฯ 26 บริษัท
11.1.1 กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
– กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.)
กรมธรรม์ประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
ผู้เอาประกันภัยสามารถขอทำประกันภัยสำหรับความคุ้มครอง 1 ปี และชำระเบี้ยประกันภัย 1 ปี โดยบริษัทประกันภัยจะขยายระยะเวลาความคุ้มครองเพิ่มเติมให้เท่ากับระยะเวลาประกันภัยที่เหลืออยู่ตามกรมธรรม์ประกันภัยเดิม โดยไม่คิดค่าเบี้ยประกันภัยเพิ่ม
– กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ (ภาคสมัครใจ)
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ (ภาคสมัครใจ) ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกทำประกันภัยตามที่บริษัทประกันภัยเสนอให้ความช่วยเหลือได้เป็น 2 แนวทาง คือ
1) ผู้เอาประกันภัยสามารถขอทำประกันภัยสำหรับความคุ้มครอง 1 ปี และชำระเบี้ยประกันภัย 1 ปี โดยบริษัทประกันภัยจะขยายระยะเวลาความคุ้มครองเพิ่มเติมให้เท่ากับระยะเวลาประกันภัยที่เหลืออยู่ตามกรมธรรม์ประกันภัยเดิม โดยไม่คิดค่าเบี้ยประกันภัยเพิ่ม
2) ผู้เอาประกันภัยสามารถขอทำประกันภัยสำหรับความคุ้มครอง 1 ปี โดยบริษัทประกันภัยจะคำนวณเบี้ยประกันภัยที่จะใช้เป็นส่วนลดตามวิธี Pro rata ตามระยะเวลาความคุ้มครองที่เหลืออยู่ตามกรมธรรม์เดิม ทั้งนี้ส่วนลดที่จะให้แก่ผู้เอาประกันภัยจะไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของเบี้ยประกันภัยเต็มปีของกรมธรรม์ประกันภัยเดิม
11.1.2 กรมธรรม์ประกันภัยอื่นๆ
ผู้เอาประกันภัยสามารถขอทำประกันภัยสำหรับความคุ้มครอง 1 ปี และชำระเบี้ยประกันภัย 1 ปี โดยบริษัทประกันภัยจะขยายระยะเวลาความคุ้มครองเพิ่มเติมให้เท่ากับระยะเวลาประกันภัยที่เหลืออยู่ตามกรมธรรม์ประกันภัยเดิม โดยไม่คิดเบี้ยประกันภัยเพิ่ม
สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่มีความคุ้มครองเกิน 1 ปี เช่น กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน กล่าวคือ หากเป็นกรมธรรม์ประกันภัยที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 3 ปี และมีอายุการประกันภัยเหลือเท่าใด บริษัทจะรับประกันภัยตามระยะเวลาเดิม (3 ปี) โดยบริษัทประกันภัยจะขยายระยะเวลาความคุ้มครองเพิ่มเติมให้เท่ากับระยะเวลาประกันภัยที่เหลืออยู่ตามกรมธรรม์ประกันภัยเดิม โดยไม่คิดเบี้ยประกันภัยเพิ่ม (3 ปีบวกระยะเวลาที่เหลือ)
โดยผู้เอาประกันภัยสามารถติดต่อกับบริษัทประกันภัยหรือสาขา พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้
– กรมธรรม์ประกันภัยเดิม
– สำเนาบัตรประชาชน
– ใบเสร็จรับเงิน
– หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล)
การรับโอนกรมธรรม์
โดยปกติจะต้องมีหนังสือบอกเลิกกรมธรรม์จากกองทุนประกันวินาศภัยมายื่นต่อบริษัทประกันภัยที่เป็นฝ่ายรับโอนกรมธรรม์ด้วย จึงจะสามารถรับโอนกรมธรรม์ดังกล่าวได้ แต่ปัจจุบันกองทุนประกันวินาศภัยยังไม่ได้มีหนังสือบอกเลิกกรมธรรม์ไปยังผู้เอาประกันภัย ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย จึงให้บริษัทประกันภัยที่เป็นฝ่ายรับโอนกรมธรรม์สามารถรับโอนกรมธรรม์ได้โดยไม่ต้องมีหนังสือบอกเลิกกรมธรรม์จากกองทุนประกันวินาศภัย
11.2 แนวทางในการเรียกร้องค่าเสียหาย แบ่งออกเป็น 2 กรณี
11.2.1 กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
ตามที่ คณะกรรมการประกันภัยยานยนต์ ได้ประสานงานกับกองทุนประกันวินาศภัย ในฐานะผู้ชำระบัญชี เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้เอาประกันภัย รวมทั้งคู่กรณีของผู้เอาประกันภัยที่ทำประกันภัย ไว้กับบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) จึงได้กำหนดแนวทางชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ดังนี้
– ในกรณีที่รถของผู้เอาประกันภัยกับบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นฝ่ายผิด ขอให้บริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถฝ่ายถูก รับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัยของบริษัทตนเองถือเสมือนไม่มีสัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกัน และสามารถรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนคืนได้จากผู้ชำระบัญชี หรือกองทุนประกันวินาศภัย โดยตรง (โดยใช้สำเนากรมธรรม์ประกันภัยและบันทึกยอมรับผิดของผู้ขับขี่หรือผู้เอาประกันภัย รถคันที่เอาประกันภัยกับบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด(มหาชน) และภาพถ่ายความเสียหาย เป็นหลักฐานประกอบการเรียกร้อง)
– ในกรณีที่รถของผู้เอาประกันภัยกับบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นฝ่ายถูก ขอให้บริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถฝ่ายผิด ดำเนินการจัดซ่อม หรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัยของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) ที่เป็นฝ่ายถูก เสมือนไม่มีสัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกัน
ทั้งนี้ หากมีความเสียหายสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยประเภทรถยนต์เกิดขึ้น โดยไม่มีคู่กรณี
การเรียกร้องค่าเสียหายนั้นให้เป็นไปตามประกาศกองทุนประกันวินาศภัย ในฐานะผู้ชำระบัญชีของ ของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) ที่ 2/2561 เรื่อง ให้เจ้าหนี้ยื่นคำทวงหนี้ของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) ซึ่งกำหนดให้เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย ยื่นคำทวงหนี้ต่อผู้ชำระบัญชี ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2561 สิ้นสุดวันที่ 27 ธันวาคม 2561 โดยสามารถยื่นคำทวงหนี้ต่อผู้ชำระบัญชี ได้ที่กองทุนประกันวินาศภัย
11.2.2 กรมธรรม์ประกันภัยประเภทอื่น
การเรียกร้องค่าเสียหายนั้นให้เป็นไปตามประกาศกองทุนประกันวินาศภัย ในฐานะผู้ชำระบัญชีของ ของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) ที่ 2/2561 เรื่อง ให้เจ้าหนี้ยื่นคำทวงหนี้ของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) ซึ่งกำหนดให้เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย ยื่นคำทวงหนี้ต่อผู้ชำระบัญชี ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2561 สิ้นสุดวันที่ 27 ธันวาคม 2561 โดยสามารถยื่นคำทวงหนี้ต่อผู้ชำระบัญชี ได้ที่กองทุนประกันวินาศภัย และสำนักงาน คปภ.ในทุกพื้นที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนเป็นเบื้องต้น
ที่มา : http://www.oic.or.th/th/consumer/news/releases/88777